วันอังคารที่ 20 มีนาคม 2561
แนวทางการจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ความหมายของสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมอาจแบ่งเป็น
2 ประเภท ดังนี้
1.
สิ่งแวดล้อมภายในตัวบุคคล (implicit environment) ได้แก่ การทำงานของระบบต่าง
ๆ ของร่างกาย เช่น ระบบย่อยอาหารระบบขับถ่าย
ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
2.
สิ่งแวดล้อมภายนอก (explicit environment) ได้แก่ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ภายนอกกายของมนุษย์
เช่น วัตถุสิ่งของ คน พืช
สัตว์ กิจกรรมต่าง ๆ
ที่เกิดจากคนและสัตว์ รวมไปถึงสิ่งที่เป็นนามธรรม
(abstract) ได้แก่
ศีลธรรมจรรยา ขนบธรรมเนียมประเพณีในสังคมด้วย
ความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมมีความหมายและความสำคัญต่อเด็กเล็กคือ เด็กได้รับการฝึกอบรมให้รู้จักบทบาทต่างๆ ในสังคม ทั้งในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ไปพร้อมๆ กัน กระบวนการของการอบรมให้คนเป็นสมาชิกของสังคมนั้น
จะขึ้นอยู่กับเจตคติ ความคาดหวัง และค่านิยมของสังคมที่คนๆ นั้นเกี่ยวข้องด้วย
เนื่องจากบทบาทที่แสดงอยู่เปลี่ยนไปก็จะส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหมายความว่าการกระทำของเด็กคนหนึ่งจะมีผลต่อคนที่อยู่รอบๆ ข้าง และผลจากการกระทำของคนที่อยู่รอบๆ ข้าง จะมีผลกระทบต่อเด็ก
ทั้งนี้เพราะเด็กอยู่ในสังคม
ปัจจัยของสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการ
1.
ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากการตอบสนองความต้องการพื้นฐาน
2.
ประสบการณ์ที่ได้จากการสร้างสัมพันธภาพในครอบค
รัว
3.
ประสบการณ์ที่เด็กได้รับจากสัมพันธภาพทางสังคม
4.
ประสบการณ์ที่ได้รับความสะเทือนใจมาตั้งแต่วัยเด็ก
อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กโดยพฤติกรรมบางอย่างจะถูกกระตุ้นให้เร็วขึ้น
โดยสิ่งแวดล้อมหรืออาจจะช้าลงถ้าเด็กไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นสิ่งแวดล้อมจึงมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ซึ่งจัดเป็น 3
กลุ่ม ดังนี้
1.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
2.
สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์และสังคม
การจัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย
1. การจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียนเป็นการจัดวัสดุ
อุปกรณ์ และวิธีการที่มีลักษณะ และคุณสมบัติเหมาะสมสำหรับการกระทำกิจกรรมภายในอาคาร
และภายในห้องเรียน
2.
การจัดสิ่งแวดล้อมนอกห้องเรียนครูผู้จัดจะต้องพิถีพิถันในการพิจารณาวางแผนอย่างดีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการจัดสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน
สอดคล้องและเสริมประสบการณ์
โดยใช้พื้นที่นอกห้องเรียนเป็น 2
ส่วน คือ
2.1 สนาม
2.2 สวนในโรงเรียน
สมองกับการเรียนรู้โดยใช้สื่อและการจัดสภาพแวดล้อม
สมองกับการเรียนรู้โดยใช้สื่อและการจัดสภาพแวดล้อม
การเลือกสื่อและการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาการและการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในสมอง (Brain
- Based Learning)
1.
สื่อ 1.1 เพลง 1.2 เครื่องดนตรี 1.3 หนังสือ
การจัดสภาพแวดล้อม
1.
สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนต้องปลอดภัย
สะอาด ดึงดูดใจ
และกว้างขวางพอกับสนามเด็กเล่น
2.
พื้นที่จัดกิจกรรมต้องกำหนดให้ชัดเจนเด็กต้องมีพื้นที่ที่สามารถทำงานได้ด้วยตนเอง
และทำกิจกรรมด้วยกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆหรือกลุ่มใหญ่
3.
พื้นที่สำหรับเด็กต้องจัดให้สะดวกสำหรับทำกิจกรรมต่างๆ อาจจัดเป็นกลุ่มเล็กหรือรายบุคคล
4.
สีที่ใช้ทาห้องเรียนและอาคารควรใช้สีที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ เป็นสีอ่อนเย็น เช่น สีเขียว
(ก้านมะลิ) สีฟ้า (เทอร์ควอยซ์) สีเหลือง (อ่อน) เป็นต้น
5.
สื่อหรืออุปกรณ์ต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก มีปริมาณเพียงพอ
มีหลากหลาย และมีความทนทาน
6.
จัดหาที่ให้เด็กได้เก็บของใช้ส่วนตัวเป็นสัดส่วนชัดเจน
7.
ต้องจัดมุมสงบไว้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
8.
สภาพแวดล้อมควรมีส่วนที่อ่อนนุ่มบ้าง เช่น พรม เบาะสนามหญ้า
9.
ใช้วัสดุดูดเสียงเพื่อลดเสียงดังเพราะเสียงที่ดังเกินไปอาจทำให้เด็กเหนื่อยและเครียดได้
10.
พื้นที่นอกอาคารควรมีพื้นผิวหลายประเภท
11.
ห้องน้ำ ห้องส้วม ควรจัดอย่างเหมาะสมกับตัวเด็กและถูกสุขลักษณะ
12.
สภาพของห้องและบริเวณอาคารควรจัดให้ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ
13.
เครื่องเล่นสนามต้องมีความปลอดภัย
14.
ขยะและน้ำโสโครก มีกำจัดขยะทุกวันหรือเป็นประจำ
15.
สถานที่เตรียมและปรุงอาหารทำด้วยวัสดุถาวร แข็งแรง
16.
สถานที่รับประทานอาหารตัวอาคารไม่อับทึบไม่มีหยากไย่มีแสงสว่างเพียงพอ
พื้นที่ทำด้วยวัสดุแข็ง
การปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรมในเด็กปฐมวัย
ความหมายของคำว่า
จริยธรรมไว้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
ดังนี้
“จริยธรรม คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร”
“จริยธรรม คือ
หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ”
ส่วนความหมายในแง่ของการนำไปสู่การปฏิบัตินั้น
จริยธรรม มีความหมายตามที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า จริยธรรม
เป็นแนวทางที่แสดงให้เห็นถึงวิธีการประพฤติ ปฏิบัติตนให้เป็นคนดี
เพื่อประโยชน์สุขของตนเองและสังคม
โดยการปฏิบัตินั้นจะทำในสิ่งที่สังคมยอมรับและเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม
บุคคลที่มีความประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง เหมาะสม สังคมยอมรับ
ทำให้เกิดความมีคุณค่าต่อตนเองและสังคม เรียกว่าเป็นผู้ที่มีจริยธรรม
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คนที่มีจริยธรรม คือ บุคคลที่มีความรู้สึกผิดชอบ ชั่วดี
นั่นเอง
ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
โคลเบอร์ก เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อม
ๆ กับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์
ระดับกฎเกณฑ์สังคม และระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม สำหรับเด็กปฐมวัย
จะอยู่ในขั้นแรกของทฤษฎีคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์ เด็กวัยนี้จึงตัดสินความถูกผิดจากความรู้สึกของตนเอง
และตามกฎเกณฑ์ที่ ผู้อื่นกำหนดโดยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
การหลีกเลี่ยงการลงโทษและการทำตามคำสั่ง(Punishment
and obedience oreintation) เด็กวัยนี้จะประพฤติตนตามกฎเกณฑ์ต่าง
ๆ เพราะหลีกเลี่ยงการลงโทษ ความถูก ผิด ตัดสินโดยพิจารณาผล
ถ้าถูกลงโทษถือว่าทำไม่ดี เด็กวัยนี้จึงยังไม่มีเหตุผลในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ
นอกจากปฏิบัติตามคำสอนของผู้ใหญ่
ขั้นตอนที่
2 การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังรางวัลส่วนตัว (Personal
reward Oreintation) เด็กจะนำความต้องการของตนมากำหนดสิ่งที่ถูกและผิด
ถ้าหากปฏิบัติสิ่งใดแล้วได้รางวัลก็จะยึดถือว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ดังนั้นการชมเชยและให้รางวัลเมื่อเด็กทำในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม
จึงเป็นวิธีสอนจริยธรรม ความประพฤติให้กับเด็ก เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถตัดสินสิ่งต่าง
ๆ ได้ด้วยเหตุผลของตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์
สกินเนอร์ (Skinner)
นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม
เป็นผู้เสนอทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
ผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิมถ้าเกิดขึ้นอีกจะเรียกผลพฤติกรรมนั้นว่า การเสริมแรงทางบวก
แต่ถ้าไม่เกิดขึ้นอีกเรียกผลของพฤติกรรมนั้นว่า การลงโทษ
การอธิบายถึงการเรียนรู้ด้านจริยธรรมผ่านกระบวนการเสริมแรงและการลงโทษหากเด็กแสดงพฤติกรรมที่ดีแล้วได้รับการชมเชยยกย่องคือเด็กจะแสดงพฤติกรรมนั้นซ้ำอีกแต่หากแสดงพฤติกรรมใดแล้วถูกลงโทษเด็กจะระงับหรือหยุดการกระทำนั้นๆ
ดังนั้นการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมของเด็กจึงขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่จะตัดสินว่า
พฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมทางจริยธรรมที่เหมาะสม แล้วนำมาใช้ในการอบรมปลูกฝัง
แบนดูรา
(Bandura)
นักจิตวิทยาสังคม อธิบายว่า
พฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้ โดยการสังเกตจากตัวแบบ
ทั้งตัวแบบในชีวิตจริง หรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์
ทั้งนี้ตัวแบบจะทำหน้าที่ทั้งสร้างหรือพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรม
และจะทำหน้าที่ในการระงับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เด็กปฐมวัยจึงเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมจากตัวแบบผู้ใหญ่และสังคมจึงเป็นตัวแบบที่เด็กดูสังเกตและลอกแบบการสอนจริยธรรมในแนวคิดนี้คือการสร้างและเลือกตัวแบบที่ดีให้เด็กได้สังเกต
สำหรับกระบวนการในการพัฒนาการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดนี้มี 4 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่
1 กระบวนการตั้งใจ
ขั้นตอนที่
2 กระบวนการเก็บจำ
ขั้นตอนที่
3 กระบวนการกระทำ
ขั้นตอนที่
4 กระบวนการจูงใจ
วิธีการสอนจริยธรรมในเด็กปฐมวัย เมื่อเลือกพฤติกรรมจริยธรรมที่ต้องการพัฒนาให้เด็กปฐมวัยได้แล้ว
ผู้สอนจะนำทฤษฎีการพัฒนาจริยธรรม มาสู่การออกแบบการสอน ดังนี้
1. การใช้วิธีการให้รางวัลและการลงโทษ
ทั้งนี้การให้รางวัลมิได้หมายถึงการให้สิ่งของที่เด็กพึงพอใจเสมอไป
การให้รางวัลในที่นี้หมายรวมถึงการให้คำชมเชย ยกย่อง ยอมรับ
การแสดงความชื่นชมที่เหมาะสม
ไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป ส่วนการลงโทษก็มิได้หมายถึงการทำโทษทางกายและทางใจให้เด็กเจ็บปวด
หรืออับอายขายหน้า อาจเป็นเพียงการงดหรือยกเว้นสิทธิบางอย่าง การไม่ให้ความสำคัญ
หรือลดความสำคัญลง ซึ่งต้องทำควบคู่ไปกับการชี้แจงให้เหตุผล ทั้งนี้
ข้อแนะนำในการให้รางวัลและการลงโทษนั้นมีดังนี้
1.1
ต้องยึดหลักความชัดเจนของข้อกำหนดว่าสิ่งใดเป็นพฤติกรรมดีหรือไม่ดี
และต้องให้เด็กรับทราบ
1.2 ยึดความเป็นระบบ
โดยกำหนดขั้นตอนการดำเนินการชัดเจนว่า เมื่อใดจะได้รางวัล
และเมื่อใดจะมีผลถึงการลงโทษ
1.3 ยึดหลักความสม่ำเสมอ โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ
1.4 ยึดหลักความทันที โดยต้องตอบสนองทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรม เพื่อให้รับรู้ผลการกระทำของตน
2. การใช้ตัวแบบ
หลักการสำคัญของตัวแบบคือ ต้องเลือกตัวแบบที่เด็กสนใจ
ซึ่งจะมีแนวโน้มที่จะลอกเลียนแบบ
และการใช้ตัวแบบนั้นจะต้องให้เด็กได้เผชิญกับตัวแบบที่แสดง
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเด็กจดจำพฤติกรรมได้1.3 ยึดหลักความสม่ำเสมอ โดยต้องปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการให้รางวัลและการลงโทษ
1.4 ยึดหลักความทันที โดยต้องตอบสนองทันทีที่เด็กแสดงพฤติกรรม เพื่อให้รับรู้ผลการกระทำของตน
3. การสอนโดยการให้แสดงความคิดเห็นในสถานการณ์ที่มีข้อขัดแย้งทางจริยธรรม ทั้งนี้ในระดับปฐมวัย อาจใช้สถานการณ์ที่เด็กพบในชีวิตประจำวัน หรือใช้นิทาน แล้วให้เด็กแสดงความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งวิธีการนี้แม้จะไม่เป็นไปตามแนวคิดในทฤษฎีทางจริยธรรมที่ระบุว่าเด็กปฐมวัย ยังไม่สามารถตัดสินความถูกผิดทางจริยธรรมได้ด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง มักระบุเหตุผลตามการรับรู้ของตนมากกว่าข้อเท็จจริง แต่การสอนโดยการให้แสดงความคิดเห็น ครูจะใช้การกระตุ้นให้เด็กได้ฝึกคิดการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่สูงกว่าเดิม เพื่อให้เด็กได้รับรู้เหตุผลตามความเป็นจริง
กระบวนการพัฒนาจริยธรรมในเด็กปฐมวัย
1. การรับรู้ เกิดจากการที่เด็กได้รับประสบการณ์จากสภาพแวดล้อมแล้วเกิดความเข้าใจ ยินดีที่จะเรียนรู้ และสนใจในสิ่งที่จะเรียนรู้ มีการเตรียมตนให้พร้อมที่จะเรียนรู้ในเรื่องนั้น ๆ
2. การตอบสนอง เมื่อได้รับรู้เรื่องที่สนใจแล้วเด็กจะมีปฏิกิริยาตอบสนอง ถ้าเป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการ จะมีการตอบสนองทางบวก เต็มใจที่จะตอบสนอง และมีความพึงพอใจในการตอบสนองในเรื่องนั้น
3. การสร้างค่านิยม เมื่อได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อมและได้ตอบสนองจะเกิดเป็นค่านิยม และหากค่านิยมนั้นเป็นสิ่งที่เด็กพึงพอใจ จะเกิดการยอมรับค่านิยม ทั้งนี้การยอมรับค่านิยม อาจจะมีมากกว่าหนึ่งอย่างก็ได้ ทั้งนี้เด็กอาจแสดงออกมาให้เห็นถึงการปฏิบัติซ้ำ ๆ จนเป็นที่สังเกตเห็นได้
4. การจัดระเบียบ หลังจากสร้างค่านิยม และยอมรับค่านิยมแล้ว จะนำมาคิดพิจารณาและรวบรวมค่านิยม นำมาจัดระบบระบบค่านิยม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลามาก อาจจะยังยากที่จะสังเกตเห็นในระยะปฐมวัย
5. การสร้างลักษณะนิสัย เป็นขั้นตอนหลังจากนำค่านิยมที่ดีอย่างหลากหลายมาจัดเป็นระเบียบ และนำมาเป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติ สร้างเป็นหลักยึดในการตัดสินใจ และแสดงถึงลักษณะนิสัย
8คุณธรรมพื้นฐาน 1.ขยัน 2.ประหยัด 3.ซื้อสัตย์ 4.มีวินัย 5.สุภาพ 6.สะอาด 7.สามัคคี 8.มีนำ้ใจ
บรรยากาศการเรียน
สิ่งที่ได้รับในการเรียน
เนื้อหาการเรียนที่เยอะขึ้น ทำความเข้าใจได้
ในการจัดมุมประสบการณ์ สภาพแวดล้อม สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเด็กปฐมวัย
ความรู้ของทฤษฏีจริยธรรมตามแนวคิดจริยธรรมของโคลเบอร์ก สกินเนอร์ แบนดูรา
ที่หลากหลาย
ประเมินตนเอง มีความตั้งใจเนื้อหาการสอน เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติ เรียนรู้ไว้เป็นเบื้องต้นเพื่อนำไปใช้จัดการเรียนเด็กปฐมวัย
ประเมินเพื่อน ตั้งใจมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน มีจริยธรรมที่จอจ่ออยู่กับเนื้อหา ถาม-ตอบซึ่งกัน
ประเมินอาจารย์ มีความตั้งใจการสอนเป็นอย่างดี เพิ่มเติมความรู้เนื้อหาได้อย่างหลากหลาย ตรงประเด็ด เปิดโอกาสตามอัธยาศัยต่อนักศึกษาในการเรียนที่ดี
ข้อคิดเห็น
บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน การถาม-ตอบอาจารย์ต่อนักศึกษา
และทำความเข้าใจไปพร้อมกันสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของวิชาคือการที่อาจาร์ฝึกให้แสดงจุดยืนเราว่า
เรามีความคิดเห็นกับเพื่อนหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน ความคิดเห็นระหว่างกันภายในห้องที่มีส่วนร่วมและร่วมมือต่อกันเพียงใด