วันอังคารที่16 มกราคม 2561
การเรียนการสอนครั้งนี้ได้เข้าเนื้อหาการเรียนรู้
บทที่1 เด็กปฐมวัยและพัฒนาการ
ทฤษฏีพัฒนาการกับเด็กปฐมวัย-ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-ความหมายของเด็กปฐมวัย
-ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
-ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
-ความหมายของพัฒนาการ
-ลักษณะของพัฒนาการ
-ลักษณะทั่วไปของพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
• ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
• ไม่รู้ว่าความคิดความรู้สึกของตนต่างไปจากของผู้อื่น
• ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก หรือตนสนใจ
• มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
• มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองเล่น
• มีอารมณ์รุนแรง มีความอิจฉาริษยาสูง
• พยายามเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับเพื่อนเล่น
• ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่ แสวงหารางวัลด้วยการกระทำฯลฯ
ความหมายของพัฒนาการ
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา วุฒิภาวะ การเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม อันส่งผลให้มนุษย์มีความสามารถและพฤติกรรมที่แตกต่างกันและเป็นไปตามศักยภาพ
ลักษณะของพัฒนาการ
1. พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
2. การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
• พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (cephalo - caudaldirection)
• พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป (proximo distal direction)
• พัฒนาการของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
• อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใหญ่ ๆ 2 ชนิด คือ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อม
5) ความก้าวหน้าของพัฒนาการ คือ ความสามารถในการแยกแยะความสามารถต่าง ๆ
6) พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กันซึ่งจะสามารถทำนายพัฒนาการของเด็กได้ ถ้าพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งบกพร่องจะนำไปสู่ความบกพร่องในด้านอื่น ๆ ด้วย
7) พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
8) พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
9) พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1.
อาหาร 2.
อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด 3.
เชื้อชาติ 4.
เพศ
5.
ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย 6.
สติปัญญา 7.
การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ 8.
ตำแหน่งในครอบครัว
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึง
6 ขวบ
• การเจริญเติบโตของทารกตั้งแต่ปฏิสนธิถึงแรกเกิดของเด็กปฐมวัย
การปฏิสนธิ คือ การผสมของอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อ กับเซลล์ของแม่คือไข่ รวมเป็นเซลล์เดียวกันเกิดการปฏิสนธิ (Conception) เกิดเป็นเซลล์เล็กกว่าไข่ใบเดิมมีขนาด 0.15 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กกว่าจุด นั่นคือจุดเริ่มต้นของชีวิต
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์แบ่งเป็น 3 ระยะ
1. ระยะไข่ (Ovum) ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 14 วัน
2. ระยะลูกอ่อน (Embryo) ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน
3. ระยะเด็กอ่อน (Fetus) ตั้งแต่ 2 เดือนถึง 9 เดือน
การปฏิสนธิ คือ การผสมของอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อ กับเซลล์ของแม่คือไข่ รวมเป็นเซลล์เดียวกันเกิดการปฏิสนธิ (Conception) เกิดเป็นเซลล์เล็กกว่าไข่ใบเดิมมีขนาด 0.15 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กกว่าจุด นั่นคือจุดเริ่มต้นของชีวิต
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์แบ่งเป็น 3 ระยะ
1. ระยะไข่ (Ovum) ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 14 วัน
2. ระยะลูกอ่อน (Embryo) ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน
3. ระยะเด็กอ่อน (Fetus) ตั้งแต่ 2 เดือนถึง 9 เดือน
ชมคลิปวีดีโอ
การปฏิสนธิ-การคลอด
คริปวิดีโอเริ่มต้นการปฏิสนธิ ระยะๆ จนเกิดการประสาทตัวกันเป็นลูกอ่อน
จากลูกอ่อนเกิดเป็นเด็กทารกหรือเด็กอ่อน พร้อมที่ออกจากครรภ์แม่
คลิปวิดีโอการทำคลอดเด็กอ่อน ในแบบคลอดธรรมชาติและแบบผ่าคลอด
• การเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิดถึง 6
ขวบ
• พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง
6 ขวบ
• พัฒนาการตามวัยของเด็กปฐมวัย
• ความต้องการของเด็กปฐมวัย
ความต้องการของเด็กปฐมวัย อาจแบ่งความต้องการได้ดังนี้
1. ความต้องการด้านร่างกาย
2. ความต้องการด้านอารมณ์
3. ความต้องการด้านสังคม
4. ความต้องการด้านสติปัญญา
สิ่งที่ได้รับในการเรียน
เรียนรู้ทฤษฏีเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยและพัฒนาการ นอกจากนี้อาจารย์ให้ศึกษาเรียนรู้
ชมคลิปวิดีโอการคลอดลูก เริ่มต้นการปฏิสนธิพัฒนาการเกิดเป็นเด็กทารก
ประเมินตนเอง เข้าก่อนเวลา ตรงต่อเวลาเรียนรู้และตั้งใจในสิ่งที่อาจารย์ถ่ายทอดความรู้ให้
ประเมินเพื่อน เรียนรู้ ตั้งใจสิ่งที่อาจารย์ถ่ายทอดอธิบายเนื้อหาบทเรียน เพื่อนมีความร่วมมือ
ประเมินอาจารย์ ได้สอนตรงตามเนื้อหา ถ่ายทอดได้อย่างเข้าใจ สอดแทรกคลิปเพื่อเพิ่มความรู้
ข้อคิดเห็น
บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน การถาม-ตอบอาจารย์ต่อนักศึกษา
และทำความเข้าใจไปพร้อมกันสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของวิชาคือการที่อาจาร์ฝึกให้แสดงจุดยืนเราว่าเรามีความคิดเห็นกับเพื่อนหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น