วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่7

วันอังคารทึ่20 กุมภาพันธ์ 2561

นำเสนอบทความ


ฝึกอ่านเตรียมความพร้อมก่อนออกนำเสนอบทความ

บทความเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมเสรีเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ
ด้านสังคม ของเด็กปฐมวัย
โดย นางสาวรุ่งนภา เรืองสวัสดิ์


การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย ควรมีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อส่ง

เสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้าน

สังคม และด้านสติปัญญา จากการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยพบว่า
กิจกรรมเสรีเป็นลักษณะของการส่งเสริมการเล่นอย่างอิสระของเด็ก เด็กมี
โอกาสเรียนรู้การเข้าสังคมจากการเล่นผ่านกิจกรรมเสรี ครูคือผู้สนับสนุน
การเรียนรู้ของเด็ก จึงควรคอยสังเกตเด็กขณะเด็กเล่น หากว่าบางมุมที่เด็ก
ไม่สนใจเล่นแล้ว ครูควรปรับเปลี่ยนสื่อหรือเปลี่ยนเป็นมุมอื่น เช่น อาจ
ดัดแปลงมุมบ้านเป็นมุมร้านค้า มุมหมอ ครูควรสอนให้เด็กคิดแก้ปัญหาใน
กรณีที่บางมุมมีเพื่อนเข้าเล่นจำนวนมากเกินไป บางครั้งเด็กสนใจการเล่นมุม
ใดมุมหนึ่งเป็นระยะเวลานานอาจทำให้เด็กขาดประสบการณ์การเรียนรู้ด้าน
อื่น ครูควรชักชวนให้เด็กเรียนรู้มุมอื่นบ้าง และครูต้องมีการสับเปลี่ยนสื่อ
หรือเพิ่มเติมเป็นระยะ เพื่อไม่ให้เด็กเบื่อ
กิจกรรมเสรี หรือ การเล่นตามมุม เป็นการจัดมุมในห้องเรียนให้เด็ก
ได้เล่น ได้คิดสร้างสรรค์ตามสภาพแวดล้อมของเด็ก การเล่นตามมุมทำให้
ครู เด็กๆ และเพื่อนๆ สามารถสร้างความคุ้นเคยกัน พัฒนาการพูดและการ
ฟัง ช่วยทำให้เด็กปรับตัวได้เร็วขึ้น เด็กเกิดความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม
มีโอกาสได้ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น การเล่นตามมุมยังช่วยฝึกเด็ก
ให้มีระเบียบวินัย รู้จักรอคอย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และให้อภัย และมีความ
รับผิดชอบในการทำงาน ประเภทของมุมต่างๆ ที่จัดในห้องเรียน เช่น มุม
บ้าน มุมบทบาทสมมติ มุมไม้บล็อค มุมหนังสือ และมุมเกมการศึกษา
กิจกรรมเสรีหรือกิจกรรมเล่นตามมุมที่โรงเรียนจัดให้เด็กเล่นอย่างอิสระ เป็น
กิจกรรมหลักกิจกรรมหนึ่งตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช.
(2546). ที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยเปิดโอกาสให้เด็กได้เลือกเล่น
อย่างอิสระจากของเล่นตามมุมประสบการณ์หรือศูนย์การเรียนที่จัดไว้ใน
ห้องเรียน เช่น มุมบล็อก มุมหนังสือ มุมธรรมชาติ มุมบ้าน มุมร้านค้า เป็นต้น
นอกจากจะให้เด็กเล่นตามมุมแล้ว ครูอาจจะให้เด็กทำกิจกรรมที่ครูจัด เช่น
เกมการศึกษา เครื่องเล่นสัมผัส กิจกรรมสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ ซึ่งการจัด
กิจกรรมเสรีนี้เป็นการให้เด็กได้เล่นอิสระ ตอบสนองความสนใจของตนเอง
เด็กจึงมีโอกาสได้คิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาและพัฒนาความรู้ โดยผู้ใหญ่เลือก
ใช้วิธีการส่งเสริมให้เด็กเล่นด้วยวิธีการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับ
ธรรมชาติของเด็ก ให้เด็กได้คิดรูปแบบการเล่นตามความสนใจและความ
ต้องการ ทั้งที่เล่นเป็นรายเดี่ยวและเล่นเป็นรายกลุ่ม จึงเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริม
การเรียนรู้การเข้าสังคมของเด็กปฐมวัย ทั้งนี้เพราะการเล่นเป็นกิจกรรมที่
สำคัญในชีวิตเด็กทุกคน เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต ได้เรียน
รู้ความรู้สึกของผู้อื่น มีโอกาสทำการทดลอง สร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา และ
ค้นพบด้วยตนเอง ได้ใช้ประสาทสัมผัส การรับรู้ ผ่อนคลายอารมณ์ และ
แสดงออกถึงตนเอง ผลจากเล่นจะทำให้เด็กเกิดพัฒนาการด้านร่างกาย
อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา ซึ่งจะพัฒนาลักษณะทางสังคมของเด็ก
ปฐมวัยผ่านการเล่นและทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่น เช่น การให้ความร่วมมือ
การเป็นผู้นำผู้ตาม การเห็นอกเห็นใจ การแบ่งปันสิ่งของ การช่วยเหลือ
ตนเอง และการเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น
อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura) นักจิตวิทยาร่วมสมัยเกิดในปี
ค.ศ. 1925 เป็นนักจิตวิทยา แห่งมหาวิทยาลัยแสตนด์ฟอร์ด (Stanford
University) แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากพฤติกรรม
ของบุคคลนั้น มีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม ซึ่ง
ทฤษฎีนี้เน้นบุคคลเกิดการเรียนรู้โดยการให้ตัวแบบ โดยผู้เรียนจะทำการ
ลอกเลียนแบบจากตัวแบบ การเรียนรู้ดังกล่าวเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นอย่าง
ต่อเนื่องโดยอาศัยการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ การสังเกตการตอบ
สนองและปฏิกิริยาต่างๆ ของตัวแบบสภาพแวดล้อมของตัวแบบ ผลการก
ระทำ คำบอกเล่าและความน่าเชื่อถือของตัวแบบได้ การเรียนรู้ของเด็ก
ปฐมวัยจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการต่างๆของการเลียนแบบของเด็ก
ประกอบด้วย 4 กระบวนการ คือ กระบวนการดึงดูดความสนใจ
กระบวนการคงไว้ กระบวนการแสดงออก และกระบวนการจูงใจ
ดร. มาเรีย มอนเตสซอรี่ (Dr. Maria Montessori) ได้กล่าวว่า การที่
ให้เด็กได้ทำงานอย่างอิสระนั้น ทำให้เด็กสามารถแสดงออกถึงการอยู่ร่วม
กันในสังคมโดยธรรมชาติ เธอเห็นว่าระเบียบวินัยที่แท้จริงและการอยู่ร่วมกัน
ในสังคมนั้นเป็นสิ่งที่มาจากความต้องการภายใน ไม่ใช่สิ่งที่จะบังคับจิตใจ
กันได้ เด็กๆจึงมีระเบียบและวินัยทางสังคม ซึ่งเป็นระเบียบวินัยภายใต้ความ
สนใจที่แตกต่างกัน “เป็นระเบียบวินัยที่แตกต่างจากระเบียบวินัยของทหาร
ที่มีการบังคับด้วยกฎเกณฑ์ ซึ่งหมายถึงว่าต้องปฏิบัติในสิ่งเดียวกันทั้งหมด
ในเวลาเดียวกัน แต่นี่คือวินัยทางสังคม ที่สามารถทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันได้
อย่างกลมเกลียว การที่เด็กเล็กๆแสดงออกให้เห็นถึงลักษณะของสังคมโดย
ธรรมชาติ ทำให้เธอรู้สึกประหลาดใจและตระหนักว่านี่อาจเป็นกุญแจในการ
ปรับเปลี่ยนของสังคมด้วยตัวมันเอง เธอกลายเป็นนักพูดเกี่ยวกับสิทธิของ
เด็กและความสำคัญของอิสรภาพในระบบการศึกษา
พัฒนาการด้านสังคม เป็นพัฒนาการเรียนรู้ทางสังคมจากความรู้สึก
ผูกพันใกล้ชิดภายในครอบครัวที่ต้องการพึ่งพิงผู้อื่นไปสู่การพึ่งพาตนเอง
และการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น เด็กระดับก่อนประถมศึกษา มีความสามารถตาม
วัยที่จะช่วยเหลือตนเองได้ดี เด็กวัยนี้เริ่มพัฒนาความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง
ชอบอิสระ มีความมั่นใจในตนเอง สนใจเรียนรู้สิ่งรอบตัวมากขึ้น และเรียน
รู้ที่จะสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่น แต่การแสดงพฤติกรรมทางสังคมในระยะ
แรกอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น เพราะเด็กวัยนี้จะยึดตนเอง
เป็นศูนย์กลาง มีอารมณ์แปรปวนง่ายยังไม่รู้จักควบคุมอารมณ์และยอมรับ
ความคิดความรู้สึกของผู้อื่น แต่เมื่อเด็กมีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนวัย
เดียวกันหรือผู้อื่นมากขึ้น อีกทั้งได้รับการปลูกฝังลักษณะพฤติกรรมที่เหมาะ
สมทางสังคมเด็กย่อมสามารถปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่นและเรียนรู้บทบาทของ
ตนเองในชุมชนได้ดียิ่งขึ้น
การจัดกิจกรรมเสรี/เล่นตามมุม เป็นการจัดมุมในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
บ้านหนองแคนให้เด็ก ได้เล่น ได้คิดสร้างสรรค์ตามสภาพแวดล้อมของเด็ก
การเล่นตามมุมทำให้ครู เด็กๆ และเพื่อนๆ สามารถสร้างความคุ้นเคยกัน
พัฒนาการพูดและการฟัง ช่วยทำให้เด็กปรับตัวได้เร็วขึ้น เด็กเกิดความรู้สึก
เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม มีโอกาสได้ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็น การเล่น
ตามมุมยังช่วยฝึกเด็กให้มีระเบียบวินัย รู้จักรอคอย มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
และให้อภัย และมีความรับผิดชอบในการทำงาน ประเภทของมุมต่างๆ ที่จัด
ในห้องเรียน เช่น มุมบ้าน มุมบทบาทสมมติ มุมไม้บล็อค มุมหนังสือ
จากการจัดกิจกรรมเสรี/เล่นตามมุม เด็กรู้จักตนเอง รู้จักบุคคลรอบ
ด้าน รู้จักเพื่อนที่เล่นด้วย ขณะเล่นเด็กได้มีโอกาสรู้จักบทบาทของตนเองและ
ผู้อื่น รู้จักการผ่อนปรนและรอคอย อดทนต่อความไม่สมหวัง รู้จักการแบ่งปัน
รู้จักการร่วมมือกับคนอื่นและเด็กได้หัดใช้ความคิด ตัดสินใจแก้ปัญหา ได้มี
โอกาสสืบค้นหาคำตอบหรือบางครั้งการเล่นทำให้เด็กได้สร้างความรู้ โดย
ไม่ต้องจัดกิจกรรมอย่างเป็นทางการ และได้พัฒนากล้ามเนื้อเล็กและกล้าม
เนื้อใหญ่ ร่าเริงเบิกบาน มีอิสระในการเลือกเล่นสิ่งที่ตนสนใจ เด็กได้ระบาย
อารมณ์และความรู้สึกขณะเล่น ผ่อนคลายความตึงเครียด


ความตั้งใจอ่าน นำเสนอบทความหน้าชั้นเรียนและบรรยากาศความตั้งใจฟัง


ความตั้งใจของเพื่อนที่ออกมาพูดบทความของตนเอง
 พร้อมกับบรรยากาศในการเรียนการสอนคาบนี้


สิ่งที่ได้รับในการเรียน
1.ความกล้าเเสดงออก กล้าพูดในสิ่งที่ได้จดจำเรียนรู้ในเนื้อหาตนเอง
2.เรียนรู้สิ่งที่เพื่อนได้ถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3.จากที่เพื่อนได้อ่าน อาจารย์ได้สอดแทรกความรู้เพื่อเติม สรุปประเด็ดเนื้อหา
ประเมินตนเอง ตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน เตรียมความพร้อมที่ดี มั้นใจกล้าพูดและแสดงความคิดเห็นต่อผู้อื่น ตั้งใจฟังเข้าใจประเด็ดบทความที่เพื่อนเสนอ
ประเมินเพื่อน เตรียมพร้อมสามารถมั้นใจในตนเอง ส่วนใหญ่อ่านได้ดีถ่ายทอดความรู้ได้อย่างเข้าใจ ส่วนน้อยที่เข้าเรียนสายและไม่มาเรียน
ประเมินอาจารย์ ได้สอดแทรกความรู้เพิ่มเติม สรุปประเด็ดเพิ่มเติมได้ให้นักศึกษารู้สามารถเข้าใจได้

ข้อคิดเห็น
บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน การถาม-ตอบอาจารย์ต่อนักศึกษา
และทำความเข้าใจไปพร้อมกันสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของวิชาคือการที่อาจาร์ฝึกให้แสดงจุดยืนเราว่า
เรามีความคิดเห็นกับเพื่อนหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน แต่ละครั้งได้เสนองานเดี่ยวบ้างเป็นกลุ่มบ้าง
การฝึกกล้าแสดงออกอีกด้วย





อนุทินครั้งที่2

วันอังคารที่16 มกราคม 2561


การเรียนการสอนครั้งนี้ได้เข้าเนื้อหาการเรียนรู้
บทที่1 เด็กปฐมวัยและพัฒนาการ
ทฤษฏีพัฒนาการกับเด็กปฐมวัย
-ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
-ความหมายของเด็กปฐมวัย
-ความสำคัญของเด็กปฐมวัย
-ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
-ความหมายของพัฒนาการ
-ลักษณะของพัฒนาการ
-ลักษณะทั่วไปของพัฒนาการเด็กปฐมวัย


ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
• ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
• ไม่รู้ว่าความคิดความรู้สึกของตนต่างไปจากของผู้อื่น
• ชอบเลียนแบบบุคคลที่ตนรัก หรือตนสนใจ
• มีความอยากรู้อยากเห็นสูง
• มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กับสิ่งที่ตนเองเล่น
• มีอารมณ์รุนแรง มีความอิจฉาริษยาสูง
• พยายามเรียนรู้การปรับตัวเข้ากับเพื่อนเล่น
• ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่ แสวงหารางวัลด้วยการกระทำฯลฯ
ความหมายของพัฒนาการ
หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของมนุษย์ที่เป็นไปอย่างมีลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาซึ่งมีความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา วุฒิภาวะ การเรียนรู้ และสิ่งแวดล้อม อันส่งผลให้มนุษย์มีความสามารถและพฤติกรรมที่แตกต่างกันและเป็นไปตามศักยภาพ
ลักษณะของพัฒนาการ
1. พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
2. การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
• พัฒนาการเริ่มจากส่วนบนไปสู่ส่วนล่าง (cephalo - caudaldirection)
• พัฒนาการเริ่มจากแกนกลางของลำตัว ไปสู่อวัยวะส่วนข้างที่ไกลออกไป (proximo distal direction)
 พัฒนาการของมนุษย์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอนไม่มีการข้ามขั้น
 อัตราพัฒนาการของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับองค์ประกอบใหญ่ ๆ 2 ชนิด คือ พันธุกรรม และสภาพแวดล้อม
5) ความก้าวหน้าของพัฒนาการ คือ ความสามารถในการแยกแยะความสามารถต่าง ๆ
6) พัฒนาการจะมีความสัมพันธ์กันซึ่งจะสามารถทำนายพัฒนาการของเด็กได้ ถ้าพัฒนาการด้านใดด้านหนึ่งบกพร่องจะนำไปสู่ความบกพร่องในด้านอื่น ๆ ด้วย
7) พัฒนาการส่วนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายมีอัตราในการพัฒนาไม่เท่ากัน
8) พัฒนาการของเด็กแต่ละวัยจะมีลักษณะเฉพาะ
9) พัฒนาการของมนุษย์มีความแตกต่างกัน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
1. อาหาร 2. อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด 3. เชื้อชาติ 4. เพศ
5. ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย 6. สติปัญญา 7. การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ 8. ตำแหน่งในครอบครัว 
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่ปฏิสนธิถึง 6 ขวบ
• การเจริญเติบโตของทารกตั้งแต่ปฏิสนธิถึงแรกเกิดของเด็กปฐมวัย
การปฏิสนธิ คือ การผสมของอสุจิซึ่งเป็นเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อ กับเซลล์ของแม่คือไข่ รวมเป็นเซลล์เดียวกันเกิดการปฏิสนธิ (Conception) เกิดเป็นเซลล์เล็กกว่าไข่ใบเดิมมีขนาด 0.15 มิลลิเมตร ซึ่งเล็กกว่าจุด นั่นคือจุดเริ่มต้นของชีวิต
การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์แบ่งเป็น 3 ระยะ
1. ระยะไข่ (Ovum) ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึง 14 วัน
2. ระยะลูกอ่อน (Embryo) ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ถึง 2 เดือน
3. ระยะเด็กอ่อน (Fetus) ตั้งแต่ 2 เดือนถึง 9 เดือน

ชมคลิปวีดีโอ การปฏิสนธิ-การคลอด

คริปวิดีโอเริ่มต้นการปฏิสนธิ ระยะๆ จนเกิดการประสาทตัวกันเป็นลูกอ่อน

จากลูกอ่อนเกิดเป็นเด็กทารกหรือเด็กอ่อน พร้อมที่ออกจากครรภ์แม่

คลิปวิดีโอการทำคลอดเด็กอ่อน ในแบบคลอดธรรมชาติและแบบผ่าคลอด


• การเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิดถึง 6 ขวบ
• พัฒนาการของเด็กปฐมวัยตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 ขวบ
• พัฒนาการตามวัยของเด็กปฐมวัย
• ความต้องการของเด็กปฐมวัย
ความต้องการของเด็กปฐมวัย อาจแบ่งความต้องการได้ดังนี้
1. ความต้องการด้านร่างกาย
2. ความต้องการด้านอารมณ์
3. ความต้องการด้านสังคม
4. ความต้องการด้านสติปัญญา
สิ่งที่ได้รับในการเรียน
เรียนรู้ทฤษฏีเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยและพัฒนาการ นอกจากนี้อาจารย์ให้ศึกษาเรียนรู้
ชมคลิปวิดีโอการคลอดลูก เริ่มต้นการปฏิสนธิพัฒนาการเกิดเป็นเด็กทารก
ประเมินตนเอง เข้าก่อนเวลา ตรงต่อเวลาเรียนรู้และตั้งใจในสิ่งที่อาจารย์ถ่ายทอดความรู้ให้
ประเมินเพื่อน เรียนรู้ ตั้งใจสิ่งที่อาจารย์ถ่ายทอดอธิบายเนื้อหาบทเรียน เพื่อนมีความร่วมมือ
ประเมินอาจารย์ ได้สอนตรงตามเนื้อหา ถ่ายทอดได้อย่างเข้าใจ สอดแทรกคลิปเพื่อเพิ่มความรู้
ข้อคิดเห็น
บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน การถาม-ตอบอาจารย์ต่อนักศึกษา
และทำความเข้าใจไปพร้อมกันสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของวิชาคือการที่อาจาร์ฝึกให้แสดงจุดยืนเราว่าเรามีความคิดเห็นกับเพื่อนหรือไม่

อนุทินครั้งที่1

วันอังคารที่9 มกราคม 2561

วิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในสัปดาห์นี้เป็นการเปิดเรียนครั้งแรกอาจารย์ได้อธิบายรายวิชา
แนวการเรียนการสอน
คำอธิบายรายวิชา พัฒนาการ ความต้องการ การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ทฤษฎีพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5ปี ความสำคัญของการอบรมเลี้ยงดู หลักการในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก การปลูกฝังคูธรรม จริยธรรม
และสวัสดิศึกษาการดูแลสุขภาพอนามัย โภชนาการของเด็ก บทบาทของผู้อบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยในการเลี้ยงดูและให้การศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา
ผลลัพธ์การเรียนรู้ 
1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม
1.1มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.2มีวินัย ตรงต่อเวลาและมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
1.3เคารพสิทธิ เคารพกฏระเบียบ มีสัมมาคารวะ
2.ด้านความรู้
2.1 เพื่อให้นักศึกษาอธิบายพัฒนาการและทฤษฎีพัฒนาการเด็กแรกเกิด – 5 ปีได้
2.2 เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์ความแตกต่างของพัฒนาการของเด็กแต่ละวัยได้
2.3 เพื่อให้นักศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีพัฒนาการเพื่อนำไปใช้อบรมเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด - 5ปีได้
2.4เพื่อให้นักศึกษาอธิบายวิธีส่งเสริมพัฒนาการและหลักในการการอบรมเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด - 5 ปีได้
3.ด้านทักษะทางปัญญา
3.1  สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ คิดแก้ปัญหา คิดสร้างสรรค์  คิดวิเคราะห์ 
3.2  สามารถสืบค้น ตีความ ประเมินปัญหาสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับเทคนิค
3.3  สามารถวิเคราะห์ปัญหา สรุปปัญหา ความต้องการเพื่อนำไปใช้พัฒนาตนเอง
3.4  สามารถประยุกต์ความรู้นำไปใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
4.ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1  สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร การนำเสนอได้ถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
4.2  สามารถให้ความช่วยเหลือ ร่วมมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ
4.3  สามารถเป็นผู้ริเริ่มประเด็นปัญหา และหารือแนวทางแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆทั้งของตนเองและกลุ่ม
4.4  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ของตนในวิชาชีพครูปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง
5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1  มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบันเพื่อการศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้
5.2  สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
5.3  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสืบค้น การนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพ
การอธิบายกิจกรรมการเรียนการสอน
บทที่ 1 เด็กปฐมวัยและพัฒนาการ
บทที่ 2 ทฤษฎีที่เกี่ยวกับพัฒนาการของเด็กปฐมวัย
บทที่ 3 ความต้องการ ของเด็กปฐมวัย
บทที่ 4 การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
บทที่ 5 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
บทที่ 6 บทบาทผู้เกี่ยวข้องในการส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
บทที่ 7 การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม จริยธรรมของเด็กปฐมวัย
บทที่ 8 สวัสดิศึกษาและการดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กปฐมวัย
บทที่ 9 โภชนาการของเด็กปฐมวัย
บทที่ 10 การให้ศึกษาทั้งในและนอกสถานศึกษา
#ในส่วนอื่นๆจะมีการมอบหมายงาน การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้และเอกสารประกอบการสอน

        
การเรียนคาบแรกมีตัวปั้มการเข้าเรียน


อาจารย์ได้สอนบอกละเอียด การเรียนการสอนในแต่คาบที่ต้องเรียนรู้



สิ่งที่ได้รับในการเรียน
1.แผนการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนแต่ละสัปดาห์ต่างๆ
2.รายละเอียดของงานในวิชาวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
3.การบันทึก จัดทำอนุทินการเรียนรู้ในสิ่งที่ได้รับในการเรียนแต่ละครั้ง
4.ข้อตกลงการเรียนวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ประเมินตนเอง เข้าเรียนตรงตามเวลา มีความตั้งใจฟัง ตั้งใจเรียนรู้ต่อสิ่งที่อาจารย์ได้อธิบาย
ประเมินเพื่อน  มีความตรงต่อเวลา ส่วนน้อยที่จะเข้าเรียนสาย ตั้งใจเรียนและทำความเข้าใจได้ดี
ประเมินอาจารย์  สอนตรงตามเนื้อหารายละเอียด ชี้แจงงานเพื่อเรียนรู้และทำความเข้าใจ
ข้อคิดเห็น
บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน การถาม-ตอบอาจารย์ต่อนักศึกษา
และทำความเข้าใจไปพร้อมกันสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของวิชาคือการที่อาจาร์ฝึกให้แสดงจุดยืนเราว่าเรามีความคิดเห็นกับเพื่อนหรือไม่

อนุทินครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 เมนูอาหารโดยประกอบไปด้วยอาหารจานหลักและขนมหวาน ข้าวผัดปลาทูน่าหลายสี ส่วนผสม ข้าวสวย ปลาทูน่...