วันพุธที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 24 เมษายน 2561


เมนูอาหารโดยประกอบไปด้วยอาหารจานหลักและขนมหวาน


ข้าวผัดปลาทูน่าหลายสี
ส่วนผสม
ข้าวสวย ปลาทูน่า แครอท ถั่วลั่นเตาต้มสุก ข้าวโพดต้มสุก นำ้มันพืช ซอสปรุงรส
ขั้นตอนการทำ
1.ตั้งกระทะใส่น้ำมันบนไฟปานกลางใส่กระเทียมผัดพอหอม ตามด้วยแครอท ข้าวโพดเมล็ดถั่วลันเตา
ผัดให้เข้ากัน
2.ใส่ข้าวสวย ปลา ปรุงรสด้วยซอสปรุงรส
3.ตักข้าวผัดใส่จานโรยด้วยต้นหอมซอย
แกงจืดเต้าหู้
ส่วนผสม 
น้ำ เต้าหู้ไข่ แครอท ต้นหอม ซอสปรุงรส 
วิธีทำ 
1.ตั้งน้ำให้เดือด ให้ใส่แครอทแล้วตามด้วยเต้าหู้ไข่และปรุงรส
2.โรยต้นหอมผักชี ตักใส่จาน
  
"ทับทิมกรอบ"
วัตถุดิบ
แห้วปอกเปลือกต้มสุก แป้งมันสำปะหลัง นำ้ตาลทราย น้ำ 200มิลลิลิตร หัวกระทิ ใบเตย เกลือ1/2ช้อนชา
สีผสมอาหารสีแดง1/2ช้อนชา ผลไม้ขนุน
วิธีทำ
แห้วนำมาต้มให้สุกผสมนำ้หวานเล็กน้อยใส่แห้วลงไปแช่ทิ้งไว้ประมาณ1ชม.ช้อนแห้วขึ้นมาสะเด็ดน้ำ จากนั้นนำมาคลุกกับแป้งมัน ต้มนำ้ให้เดือดต้มแห้วตักขึ้นแช่น้ำเย็นสักพักนำกะทิต้มปรุงรสด้วยนำ้ตาล
แล้วให้นำน้ำเชื่อมและเกลือลงไปขนให้เข้ากันตักทับทิมใส่ถ้วยตามด้วยน้ำนำ้กะทิใส่น้ำเชื่อมเล็กน้อย
ตามด้วยน้ำแข็งเล็กน้อยลงไป พร้อมเสิร์ฟเป็นขนมหวานดับร้อน

ผลงานการทำอาหารของแต่ละกลุ่ม

" ข้าวผัดไส้กรอก  กล้วยบวชชี "
" ข้าวผัดแฮม  บัวลอย "

"สำหรับการทำอาหารของอาจารย์ผู้สอน คือบัวลอย"


                                                              สิ่งที่ได้รับในการศึกษา
ฝึกการทำอาหารหลักและอาหารหวานจากที่ไม่เคยได้ลงมือทำ การมีส่วนร่วมกับเพื่อนๆ
เอร็ดอร่อยกับฝีมือเพื่อนที่ร่วมมือทำ เมนูอาหารหวานที่แสนอร่อยของอาจารย์บาส
ประเมินตนเอง ออกความคิดเห็นร่วมกัน ให้ความร่วมมือทำอาหาร พร้อมกับได้ของรางวัลเล็กๆน้อยจากอาจารย์บาส ผู้สอนวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
ประเมินเพื่อน มีส่วนร่วมกันได้อย่างดี สร้างบรรยากาศและความสุขร่วมกัน ฝีมือทำอาหารน่ารับประทานมีรสชาติอร่อย
ประเมินอาจารย์ เมนูขนมบัวลอยไข่หวาน ฝีมืออาจารย์มีรสชาติที่อร่อย 
ข้อคิดเห็น
บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน การถาม-ตอบอาจารย์ต่อนักศึกษา
และทำความเข้าใจไปพร้อมกันสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของวิชาคือการที่อาจาร์ฝึกให้แสดงจุดยืนเราว่าเรามีความคิดเห็นกับเพื่อนหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน ความคิดเห็นระหว่างกันภายในห้องที่มีส่วนร่วมและร่วมมือระหว่างเพื่อนเพียงใด

อนุทินครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 10 เมษายน 2561


" การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในเด็กปฐมวัย "

ความหมายของคำว่า " จริยธรรม "
" จริยธรรม " คือ หลักแห่งการประพฤติ ปฏิบัติที่ดี ที่เหมาะที่ควร" จริยธรรม "  คือ หลักคำสอนที่ว่าด้วยแนวทางการประพฤติที่เป็นหลักการและเป็นที่ยอมรับนับถือ

ทฤษฎีจริยธรรมตามแนวคิดการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของโคลเบอร์ก
โคลเบอร์ก เป็นนักจิตวิทยาที่อธิบายถึงจริยธรรมของคนที่พัฒนาขึ้นไปพร้อม ๆ กับความสามารถในการคิดเชิงเหตุผล โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์ ระดับกฎเกณฑ์สังคม และระดับเลยกฎเกณฑ์ของสังคม สำหรับเด็กปฐมวัย จะอยู่ในขั้นแรกของทฤษฎีคือ ระดับก่อนกฎเกณฑ์ เด็กวัยนี้จึงตัดสินความถูกผิดจากความรู้สึกของตนเอง
ทฤษฎีการเรียนรู้จริยธรรมด้วยการกระทำตามแนวคิดของสกินเนอร์

นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เป็นผู้เสนอทฤษฎีที่มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของคนเกิดจากการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ผลจากการแสดงพฤติกรรมนั้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าพฤติกรรมนั้นจะมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีกหรือไม่ในสถานการณ์ที่คล้ายกับสถานการณ์เดิม ถ้าเกิดขึ้นอีกจะเรียกผลพฤติกรรมนั้นว่า การเสริมแรงทางบวก 
ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมตามแนวคิดของแบนดูรา
นักจิตวิทยาสังคม อธิบายว่า พฤติกรรมส่วนใหญ่ของคนในสังคมเกิดจากการเรียนรู้ โดยการสังเกตจากตัวแบบ ทั้งตัวแบบในชีวิตจริง หรือตัวแบบที่เป็นสัญลักษณ์ ทั้งนี้ตัวแบบจะทำหน้าที่ทั้งสร้างหรือพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรม และจะทำหน้าที่ในการระงับ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ เด็กปฐมวัยจึงเรียนรู้พฤติกรรมจริยธรรมจากตัวแบบ ผู้ใหญ่และสังคมจึงเป็นตัวแบบที่เด็กดูสังเกตและลอกแบบ 

วิดีโอรูปแบบการแสดง โดยการอบรมเลี้ยงดูลูกแสดงบทบาทตามข้อที่เสนอ
กลุ่มที่1.คือการอบรมเลี้ยงดูลูกแบบคาดหวัง
กลุ่มที่2. การอบรมเลี้ยงดูลูกแบบปล่อยปะละเลย
กลุ่มที่3.การอบรมเลี้ยงดูลูกแบบประชาธิปไตย
กลุ่มที่4.การอบรมเลี้ยงดูลูกแบบถนอมมากเกินไป





จับกลุ่มงานคิดกิจกรรมอะไรก็ได้สอนให้ตรงกับหัวข้อที่ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม 8ข้อ
คุณธรรมพื้นฐาน8ข้อ
1.ขยัน
 2.ประหยัด
 3.ซื้อสัตย์
 4.มีวินัย
 5.สุภาพ
 6.สะอาด
 7.สามัคคี
 8.มีน้ำใจ

 สิ่งที่ได้รับในการศึกษา
การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมจริยธรรม 
8คุณธรรมพื้นฐานพัฒนาเด็กปฐมวัย "การมาเรียนน้อยไม่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนการสอน"
ประเมินตนเอง คาบนี้เข้าเรียนพร้อมกับดาว1ดวง ตั้งใจต่อการเรียน มีความร่วมมือ 
ประเมินเพื่อน มีเพื่อนส่วนน้อยที่มาเรียน ส่วนใหญ่เพื่อนเตรียมตัวกับต่างจังหวัด
ประเมินอาจารย์ มีนักศึกษาส่วนน้อยที่เรียนแต่อาจารย์ไม่ขาดสอน ให้เนื้อหาความรู้ สอนเพิ่มเติมเสมอ

ข้อคิดเห็น
บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน การถาม-ตอบอาจารย์ต่อนักศึกษา
และทำความเข้าใจไปพร้อมกันสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของวิชาคือการที่อาจาร์ฝึกให้แสดงจุดยืนเราว่าเรามีความคิดเห็นกับเพื่อนหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน ความคิดเห็นระหว่างกันภายในห้องที่มีส่วนร่วมและร่วมมือต่อกันเพียงใด


อนุทินครั้งที่11

วันอังคารที่ 27 มีนาคม 2561


การเสนอกลุ่มศึกษาสัมภาษณ์คุณครูโรงเรียนอนุบาล


กลุ่ม.ศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยซอยเสือใหญ่(ไบรเออร์)

สัมภาษณ์ครูปฐมวัยโดยใช้คำถามเรื่อง บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กโดยที่อาจารย์จะกำหนดหัวข้อมาให้ 5 หัวข้อ ดังนี้

1.บทบาทหน้าที่ของครูปฐมวัยที่ต้องทำในแต่ละวันมีอะไรบ้าง

2. ท่านมีหลักในการอบรมเลี้ยงดู การดูแลสุขภาพอนามัย โภชนาการเด็กปฐมวัยของท่านอย่างไร

3. ท่านมีเทคนิควิธีหรือรูปแบบกิจกรรมในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยทั้ง 4 ด้าน อย่างไร

4. ในการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัย ท่านมีการส่งเสริมหรือปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมใดให้แก่เด็กบ้าง อย่างไร

5. ถ้าท่านมีปัญหาในการอบรมเลี้ยงดูหรือส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยบ้างหรือไม่ ถ้ามีปัญหาอะไรบ้างที่เป็นปัญหาและท่านมีแนวทางในการแก้ปัญหาต่างๆนั้นอย่างไร


กลุ่ม.โรงเรียนวัดหลาดปลาเค้า
กลุ่ม.โรงเรียนวัดใหญ่จอมปราสาท
กลุ่ม.โรงเรียนบางบัว
กลุ่ม.โรงเรียนพิบูลอุปถัมภ์
กลุ่ม.โรงเรียนสตรีวรนาถ

                        

                                                 


 สิ่งที่ได้รับในการเรียน
ปรเมินตนเอง การมีส่วนร่วมในการไปศึกษาหาความรู้จากคุณครูปฐมวัยของโรงเรียนที่สัมภาษณ์ ได้ซื้อนมไปให้น้องๆได้ดื่ม รับกการตอบรับเป็นอย่างดีจากเด็กๆ
ประเมินเพื่อน กลุ่มโรงเรียนและการสัมภาษณ์ครูปฐมวัย มีการตอบรับที่ดีได้ความรู้ที่หลายด้าน 
ประเมินอาจารย์ อธิบายเพิ่มเติมจากครูที่สัมภาษณ์ ประเมินในส่วนครูบ้างท่านพูดรายละเอียดไดีดี

ข้อคิดเห็น
บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน การถาม-ตอบอาจารย์ต่อนักศึกษา
และทำความเข้าใจไปพร้อมกันสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของวิชาคือการที่อาจาร์ฝึกให้แสดงจุดยืนเราว่า
เรามีความคิดเห็นกับเพื่อนหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน ความคิดเห็นระหว่างกันภายในห้องที่มีส่วนร่วมและร่วมมือต่อกันเพียงใด
                                                                          
   

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

อนุทินครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 3 เมษายน 2561


เข้าร่วมศึกษางานครบรอบแห่งการสถาปนาองค์กรอัยการไทย


ไปศูนย์ราชการ ด้วยจัดงานวันครบรอบแห่งการสถาปนาองค์กรอัยการไทย สำนักงานอัยการสูงสุดได้จัดงาน "๑๒๕ ปีอัยการไทย" โดยให้นักศึกษาได้ความรู้เพื่อเผยแพร่งานในความรับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบสุขและผลประโยชน์ของแผ่นดิน ณ. อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ  แจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 
ในการจัดงานมีการแสดงนิทรรศการของสำนักงานต่างๆในสังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด รวมถึงสำนักงานคดียาเสพติด ซึ่งระหว่างวันที่ ๒-๔ เมษายน ๒๕๖๑ ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐น. ทางสำนักงานคดียาเสพติดได้ขอนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย เซค๒ คณะศึกษาศาสตร์ ชั้นปีที่๑ จำนวน๓๐ คน 
เข้าร่วมงานชมนิทรรศการ




โดยเดินทางไปในวันที่๓ เมษายน ตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐-๑๖.๓๐น. มีกิจกรรมการแสดงของตำรวจสุนัขจากหน่วยK-9 กิจกรรมชุ้มสำนักงานอื่นๆ ซึ่งก็มีอาจารย์ผู้อยู่ในการดูแล จัดพาไป 
รองศาสตราจารย์ฉัตรชนก เธียรปรีชาและว่าที่ร้อยตรีกฤตธ์ตฤณน์ ตุ๊หมาด 
เป็นผู้นำนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม

บรรยากาศการศึกษาดูงานครั้งนี้


 สิ่งที่ได้รับในการศึกษา
การศึกษานอกสถานที่ เรียนรู้ในกลุ่มกฎหมายสูงสุดของประเทศ
ได้เรียนรู้งานกิจกรรม งานนิทรรศการที่มีความหลากหลาย
จุดสำคัญการแสดงของสุนัขตำรวจแสนรู้ 
1.การพิสูจน์กลิ่นโจรผู้ร้าย
2.พิสูจน์กลิ่นสารเสพติด วัตถุระเบิด
สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งช๊อปสินค้าของขาย ของกินที่จัดขายมากมาย

ประเมินตนเอง ได้รับการศึกษานอกสถานที่ ความแปลกใหม่ ประสบการณ์และการเรียนรู้อยู่ในกลุ่มกฎหมายที่สูงสุดของประเทศ รวมความสนุกสนานกับเพื่อน
ประเมินเพื่อน มีความสนใจ มีส่วนร่วมในกิจกรรมทุกคน และที่ขาดไม่ได้การเดินช๊อบของกินที่มีความสุข
ประเมินอาจารย์ อ.บาส  ผู้นำพาพร้อมให้การดูแลห่วงใยที่มีต่อนักศึกษาเป็นอย่างดี  

ข้อคิดเห็น
บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน การถาม-ตอบอาจารย์ต่อนักศึกษา
และทำความเข้าใจไปพร้อมกันสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของวิชาคือการที่อาจาร์ฝึกให้แสดงจุดยืนเราว่าเรามีความคิดเห็นกับเพื่อนหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน อย่างให้มีการจัดศึกษาดูงานนอกสถานที่เรื่อยๆในแต่ละชั้นปี

อนุทินครั้งที่ 14


วันอังคารที่ 17 เมษายน 2561


๘ คุณธรรมพื้นฐาน กลุ่มดิฉันเลือก " ขยัน " อาจารย์ให้หาวิดีโอเกี่ยวกับสิ่งที่เราเลือกแล้วมานำเสนอจากนั้นแต่ละกลุ่มได้ออกมาเปิดวิดีโอ อาจารย์ได้สอนเรื่อง " อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก "

อาหารและโภชนาการสำหรับเด็ก



หลักของโภชนาการได้จัดแบ่งอาหารออกเป็นหมู่ได้ 5 หมู่ ได้แก่
อาหารหมู่ที่1 เนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่วเมล็ดแห้ง ช่วยสร้างเสริมและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ
อาหารหมู่ที่2 ข้าว หัวเผือก หัวมัน แป้ง น้ำตาล ให้พลังงานความอบอุ่น
อาหารหมู่ที่3 ผักใบเขียวและพืชผักต่างๆ ให้วิตามิน เกลือแร่และเส้นใย
อาหารหมู่ที่4 ผลไม้ต่างๆ ให้วิตามินและเกลือแร่
อาหารหมู่ที่5 ไขมัน น้ำมันจากพืชและสัตว์ ให้พลังงานและความอบอุ่น
การจัดอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการให้แก่เด็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กได้ ซึ่งเด็กต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน

อาหารที่มีโทษเป็นพิษภัยแก่เด็ก
¢ปัจจุบันอาหารสำเร็จรูปสำหรับริโภคมีมากมายในตลาด ซึ่งผู้ผลิตคำนึง ถึงความสะดวกของผู้บริโภคเป็นหลัก สามารถเก็บไว้ได้นาน ในทุกอุณหภูมิ มีรสชาติถูกปากผู้บริโภค ผู้ผลิตโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อว่าอาหารนั้นๆ ดี มีคุณค่า อร่อย ทันสมัย หากผู้บริโภคหลงเชื่อโดยมิได้ไตร่ตรองหรือขาดความรู้ด้านโภชนาการ ก็จะรับประทานอาหารนั้นจนลืมคิดไปว่าการที่จะทำให้อาหารนั้นๆ คง สภาพความอร่อย ความหอม ความมัน ความหวาน คงสีสันไว้ได้ตลอด นั้นต้องอาศัยสารเคมีช่วยในการปรุงแต่งรูป รส กลิ่น และสี ให้คงเดิม วัตถุเหล่านี้เองที่เป็นอันตรายได้ 
¢เด็กปฐมวัยนับเป็นตลาดอันสำคัญยิ่งของผู้ผลิตเหล่านี้ เนื่องจากเด็กยังไม่ มีข้อมูลเพียงพอที่จะตัดสินใจเองได้ จึงมักเชื่อตามโฆษณา และความ นิยมของเพื่อนๆ เป็นความจำเป็นอย่างยิ่งยวด ที่ผู้เลี้ยงดูเด็กจะต้อง ตระหนักถึงพิษภัยร้ายกาจของอาหารเหล่านี้ โดยต้องร่วมมือกับ พ่อแม่ ผู้ปกครองช่วยกันให้ความรู้แก่เด็ก และไม่จัดอาหารเหล่านี้ให้แก่เด็ก เพื่อป้องกันโรคภัยไข้เจ็บที่จะตามมา
สิ่งที่ผู้ผลิตตั้งใจใส่ในอาหารสำเร็จรูป เราเรียกว่า “วัตถุเจือปนอาหาร” เช่น กรดน้ำส้ม สารให้ควานหวาน   ผงชูรส เป็นต้น
วัตถุหรือสารเคมีที่พบปะปนโดยที่ผู้ผลิตไม่ได้ตั้งใจใส่ในอาหาร เรียกว่า “วัตถุปนเปื้อน” เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
ปัญหาการขาดสารอาหารและการแก้ไขปัญหาการขาดสารอาหารในเด็ก
¢การขาดสารอาหารอย่างใดอย่างหนึ่งจากความบกพร่องของการบริโภค อาหาร จะทำให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกายกลายเป็นโรคขาดสารอาหาร ยิ่งเมื่อเกิดในเด็กวัยที่กำลังเจริญเติบโต คือ อายุระหว่างแรกเกิดจนถึง 5 ปี ที่เป็นพื้นฐานสำคัญของอนาคตแล้ว ก็ยิ่งเป็นปัญหาที่เลวร้ายมากที่สุด การ ขาดสารอาหารในวัยเด็กจะทำให้เกิดความชะงักของการเจริญเติบโตเด็กจะ แคระแกร็น ส่งผลกระทบต่อระบบสมอง เนื่องจากมีการค้นพบว่า สมองของ คนเราจะเจริญอย่างรวดเร็วถึง90% ในช่วง 2 ปีแรกของชีวิต ต่อจากนั้นจะ เจริญต่อไปจนอายุ 5 ปีหากช่วงอายุดังกล่าวเด็กได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน นอกจากร่างกายเจริญเติบโตไม่ดีแล้ว สมองก็จะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ด้วย
หลักการจัดอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการเด็ก
¢หลักการจัดอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็ก ดังนั้นผู้เลียงดูเด็กควรคำนึงถึงการจัดอาหารให้เหมาะสมกับสภาพและวัยของแต่ละบุคคลโดยคำนึงถึงความต้องการสารอาหาร ประโยชน์ที่จะได้รับจากสารอาหาร ปริมาณของอาหารที่ควรได้รับ และพิษภัยของอาหาร เด็กที่ได้รับอาหารที่ดีมีคุณภาพ ได้รับอาหารเพียงพอ มีสารอาหารคบถ้วนตามความต้องการ จะมีสุขภาพอนามัยทีสมบูรณ์ มีการเจริญเติบโตและมีพัฒนาการด้านต่าง ๆ เป็นปกติ แต่หากเด็กคนใดไม่ได้รับอาหารที่ดี ไม่เพียงพอ อาหารไม่มีคุณภาพ จะเกิดภาวะขาดสารอาหาร สุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์ รูปร่างแคระแกร็น เติบโตช้า พัฒนาการไม่สมวัย สภาพร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้พฤติกรรมผิดปกติไปด้วย 
อาหารสำหรับวัยทารก (แรกเกิด- 1 ปี)

¢ในระยะแรกเกิดจนถึง 4 เดือน ให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียว การเริ่มฝึกให้อาหารตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปแบ่งได้เป็น 6 ระยะ ดังนี้ 
- อายุ 4 เดือน ระยะเริ่มแรกให้อาหารเสริมนอกจากกินนมแม่แล้ว ให้ข้าวบดผสมกับน้ำแกงจืดเล็กน้อยเพื่อให้กลืนง่าย ประมาณ 1 ช้อนก่อน ผสมไข่แดงต้มสุกประมาณ 1 ใน 4 ฟอง ปนน้ำแกงจืดที่ใส่ผักต่าง ๆ ให้สลับกับกล้วยน้ำว้าสุกงอม ใช้ปลายช้อนขูดทีละน้อยแล้วบดให้ละเอียด ให้ในประมาณที่น้อย ใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จึงเพิ่ม จะช่วยให้ทารกได้รับโปรตีนและพลังงานเพียงพอ ไม่เกิดการขาดสารอาหาร ควรให้กินในเวลาเดียวกันเพื่อหัดให้เกดความเคยชิน
¢- อายุ 5 เดือน เด็กยังกินนมแม่ ควรเพิ่มโปรตีนจากปลาโดยใช้เนื้อปลาสุกบดละเอียดผสมน้ำแกงจืดจากผักเพื่อหัดให้ทารกรู้จักกินปลาที่เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ดี มีลักษณะอ่อนนุ่ม ย่อยง่าย ควรระมัดระวังก้างปลา ควรใส่ผักในข้าวสลับกับฟักทอง มะเขือเทศ หรือแครอท สลับกับการให้ไข่แดงต้มสุกบดให้ละเอียด 1 ฟอง เพื่อให้ได้วิตามินและป้องกันการขาดวิตามินเอ 
- อายุ 6 เดือน กินนมแม่ ให้อาหารแทนนท 1 มื้อ โดยเริ่มกินข้าวบดผสมเนื้อปลาหรือไข่ต้ม สุกบด ใส่น้ำแกงจืด ผสมผัก ตับบด และกินผลไม้สุกบดละเอียดตามฤดูกาลเพื่อให้ได้วิตามินเพิ่มขึ้น ควรฝึกพัฒนาการกินอาหารให้เป็นเวลาเพื่อปรับเปลี่ยนอาหารเป็นมื้อได้ง่าย
¢- อายุ 7 เดือน ยังกินนมแม่ ในระยะนี้เด็กจะเริ่มมีฟันขึ้น กระเพาะอาหารสามารถสร้างน้ำย่อยได้แล้ว ทารกจะเกิดความรู้สึกอยากอาหารและกินอาหารได้มากขึ้น นอกจากให้ข้าวบดผสมเนื้อสัตว์ต่าง ๆ บดแล้ว เริ่มเพิ่มตับบดโดยใส่ผสมกับผักสุกบดกับน้ำแกงจืด สลับกับไข่ 1 ฟอง และผลไม้สุกบด ควรให้อาหารชนิดใหม่ ๆ ที่มีลักษณะข้นขึ้นและหยาบมากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ เริ่มให้ไข่แดงและไข่ขาว เริ่มให้อาหารว่างเป็นผลไม้สุกเพิ่มได้วันละ 1 มื้อ
- อายุ 8-10 เดือน ให้กินนมแม่และให้อาหารแทนนมแม่ได้ 2 มื้อ โดยให้อาหารสลับกันในปริมาณที่มากขึ้น
- อายุ 10-12 เดือน ทารกจะมีพัฒนาการในการใช้มือมากขึ้น ควรให้ฝึกหยิบจับอาหารใส่ปากเอง โดยแม่หรือผู้ดูแลเด็กคอยช่วยเหลือ โดยหาอาหารที่ไม่แข็ง ไม่เหนียวหรือมีขนาดใหญ่เกินไป ให้ถือกินเองบ้าง ประเภทผัก ผลไม้ เช่น ฟักทอง แครอท มันต้ม แตงกวา มะละกอ มะม่วงสุก หั่นเป็นชิ้นยาว ๆ เพิ่มมื้ออาหารเป็น 3 มื้อ เมื่ออายุครบ 12 เดือน ก็จะสามารถกินอาหารได้มากขึ้นและหลากหลายขึ้น 

ข้อปฏิบัติในการจัดเตรียมอาหารของเด็กในวัยทารก
1) ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดก่อนจับต้องอาหาร 
2) ใช้ภาชนะที่สะอาด โดยจัดเก็บอย่างมิดชิดไม่ให้แมลงวันหรือแมลงอื่น ๆ ไต่ตอม
3) อาหารที่ปรุงทุกชนิดต้องล้างให้สะอาด ภาชนะที่ใช้ในการหุงต้มและประกอบอาหาร เช่น หม้อ กระทะ จาน ชาม มีด ต้องล้างให้สะอาดก่อนและหลังใช้ทุกครั้ง แยกภาชนะของเด็กและผู้ใหญ่รวมไปถึงมือของผู้ปรุงอาหารก็ต้องสะอาดด้วย 
4) อาหารและน้ำจะต้องสุกทั่วถึงและทิ้งระยะเวลาให้อุ่นลง ไม่ร้อนจัดเวลานำมาป้อนเด็ก หากเด็กกินเหลือไม่ควรเก็บไว้
5) อาหารของเด็กจะต้องมีรสธรรมชาติ ไม่ควรใส่สารปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติเกินธรรมชาติ เช่น ไม่เค็ม หวาน เปรี้ยวเกินไป หรือไม่ควรใส่ผงชูรส 
6) ต้มหรือตุ่นข้าวจนสุกและ แล้วนำมาบดให้ละเอียด โดยใช้กระชอนหรือใส่ในผ้าขาวบางห่อแล้วบีบรูดออกหรือบดด้วยช้อนก็ได้ หรือตำข้าวสารให้ละเอียดให้เหมาะสมกับอายุของทารก แล้วจึงค่อยนำไปต้มให้สุก จะช่วยประหยัดเวลาได้มาก 
7) สับหมู หั่นผักให้ละเอียดก่อนนำไปหุงต้ม ส่วนตับให้ต้มให้สุกแล้วต่อยยีให้ละเอียด 
8) ให้กินเนื้อปลาสุกโดยการย่าง หรือนึ่ง หรือต้ม ไม่ควรให้กินหนังปลา ระมัดระวังก้างปลาโดยเก็บออกให้หมด 
9) ให้กินน้ำแกงจืด (น้ำต้มผักกับเนื้อสัตว์สับละเอียด) ผสมกับข้าว โดยใช้แกงจืดหรือน้ำผัดผัก แต่ต้องไม่เค็ม 
10) เด็กที่มีอายุ 7 เดือนแล้วกินถั่วเมล็ดแห้งได้ อาจน้ำไปหุงต้มปนไปกับข้าว หรือจะนำไปทำเป็นขนมผสมกับน้ำตาลและนม
ข้อควรคำนึงในการให้อาหารแก่เด็กทารก 
1. อย่าให้อาหารอื่นใดนอกจากนมแม่ในระยะ 4 เดือนแรก เพราะจำทำให้เด็กทารกรับประโยชน์จากน้ำนมแม่ไม่เต็มที่ และอาจทำให้น้ำนมแม่ลดลงเนื่องจากการดูดกระตุ้นจากลูกน้อยลง 
2. เพื่อเป็นการหัดให้เด็กคุ้นเคย ควรเริ่มให้อาหารอื่นนอกจากนมแม่ตามที่แนะนำไว้ 
3. เริ่มให้อาหารทีละอย่าง ทีละน้อย ๆ เช่น 1 ช้อนชา แล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนตามแต่ชนิดของอาหารโดยให้กินก่อนกินนมมื้อใดมื้อหนึ่งเป็นจำ แล้วให้นมตามจนอิ่ม ใน 6 เดือนแรก ควรให้อาหารเพียงวันละ 1 มื้อ โดยเพิ่มทีละน้อย ๆ จนมากพอ และกลายเป็นอาหารหลักได้ 1 มื้อ เมื่ออายุ 6 เดือน 
4. อาหารทุกชนิดควรใช้ช้อนเล็ก ๆ ป้อน เพราะต้องการหัดให้เด็กรู้จักกินอาหารจากช้อน 
5. ควรทิ้งระยะในการที่จะเริ่มอาหารใหม่แต่ละชนิด เพื่อดูการยอมรับของเด็กทารก และเพื่อสังเกตดูว่าทารกแพ้อาหารหรือไม่ เช่น มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง ถ้าเด็กไม่กินเพราะไม่คุ้นเคยหรือไม่ชอบควรงดไว้ก่อนชั่วคราว แล้วลองให้ใหม่อีกใน 3-4 วันต่อมา จนเด็กทารกยอมกิน 
6. ควรจัดให้กินอาหารเหลวก่อน เช่น น้ำส้มคั้น น้ำต้มผัก แล้วจึงหัดให้กินอาหารข้นขึ้น เช่น กล้วยน้ำว้าสุกงอม บอผสมกับน้ำต้มสุกเล็กน้อย ข้าวบดผสมกับน้ำแกงจืด ไข่แดงต้ม ผักบด ปลาบด เป็นต้น อาหารจะค่อย ๆ ข้นขึ้นและหยาบขึ้นตามอายุของลูก 
7. ให้กินน้ำต้มสุกหลังอาหารในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้สมบูรณ์ และช่วยในการขับถ่ายของเสีย รวมทั้งทำความสะอาดช่องปากของเด็กทารก
8. เมื่อเด็กทารกเริ่มมีฟันขึ้น ให้กินอาหารสับละเอียดไม่ต้องบด เพื่อฝึกให้เด็กหัดเคี้ยว 
9. ให้อาหารที่สดใหม่และทำสุกใหม่ ๆ
10. อย่าบังคับเด็กกินเมื่อเด็กไม่ต้องการ ให้พยายามลองใหม่วันต่อไป 
11. อย่าให้เด็กกินอาหารเค็มจัดและหวานจัด
อาหารสำหรับเด็กอายุ 1-3 ปี เป็นวัยที่ต้องการสารอาหารและพลังงานมากกว่าผู้ใหญ่ เพื่อเสริมสร้างเนื้อเยื่อ สมอง กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ สร้างเสริมภูมิต้านทานโรค แต่เนื่องจากวัยนี้เริ่มจะสนใจสิ่งแวดล้อมและการเล่นมากกว่า ทำให้ไม่ค่อยสนใจอาหาร พร้อมกับเริ่มชอบหรือไม่ชอบอาหารบางอย่าง มีการเลือกกันเฉพาะสิ่งที่ชอบ จึงควรสร้างนิสัยการกินที่ดีในระยะ นี้ เพราะหากตามใจเด็กให้เลือกกินตามแต่ชอบ อาจทำให้เด็กไม่ได้รับสารอาหารที่เหมาะสม หรือได้รับไม่ครบทั้ง 5 หมู่ ทำให้การเจริญเติบโตชะวักงัน พัฒนาการทางสมองและสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควร อาจเจ็บป่วยบ่อย ควรให้อาหารกลัก 3 มื้อ และอาหารเสริมเป็นนมและของว่างที่มีประโยชน์
 อาหารสำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี เด็กในวัยนี้จะมีระยะการเจริญเติบโตที่ช้ามากกว่าใน 2 ระยะแรก ดังนั้นจึงไม่ต้องการอาหารในการพัฒนาการมากนักจะให้ความสนใจอาหารน้อยลงแต่มีความสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทำให้ความอยากอาหารน้อยลง จะมีความต้องการอาหารแตกต่างกันในแต่ละมื้อ เริ่มกำหนดความชอบอาหารของ ตัวเอง หากพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่เข้าใจ จะทำให้เกิดปัญหาการกินอาหารของเด็กวัยนี้ได้ อาหารสำหรับเด็กวัยนี้ต้องมีความหลากหลาย โดยผู้เลี้ยงดูเด็กต้องรู้จักวิธีส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความต้องการอาหารของเด็ก เพื่อปลูกฝังนิสัยการกินอาหารทีดีให้แก่เด็ก รวมทั้งต้องจัดอาหารให้เหมาะกับพัฒนาการตามวัยและความต้องการทางร่างกายของเด็ก ชีวิตช่วงนี้ของเด็กจะอยู่กับผู้เลี้ยงดูเด็ก ซึ่งจะดูแลอาหารหลัก อาหารกลางวัน 1 มื้อ อาหารเสริมหรือ อาหารว่าง 2 มื้อ สิ่งที่จะต้องคำนึงถึง คือ รสชาติต้องอร่อยถูกปากเด็ก ทั้งต้องมีความหลากหลายและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพด้วย

ประโยชน์และคุณค่าของน้ำนม น้ำนมถือเป็นอาหารหลักที่มีความสำคัญสำหรับเด็กปฐมวัยทั้งในช่วง แรก คือ แรกเกิด-3 ขวบ และช่วงอายุ  3-5 ขวบในช่วงแรกเด็กทารก แรกเกิดต้องกินน้ำนมแม่เพียงอย่างเดียวจนอายุได้ 4เดือนจึงเริ่มให้ อาหารเสริม และเริ่มหย่านมเมื่ออายุครบ 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง แต่เด็กยัง ต้องการนมอยู่ เพื่อนำสารอาหารโปรตีน และแร่ธาตุ วิตามินที่มีอยู่ใน น้ำนมไปเพื่อสร้างเสริมซ่อมแซมร่างกาย ดังนั้นหลังจากหย่านมแม่ ไปแล้ว เด็กจึงควรได้รับน้ำนมทดแทนในรูปของน้ำนมสัตว์ต่างๆเพื่อ ให้พัฒนาการของเด็กไม่สะดุดขาดตอนลง 
น้ำนมจากสัตว์
เป็นของเหลวที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสร้างขึ้นเพื่อใช้เลี้ยงลูก จะมีคุณ ค่าทางโภชนาการสูง น้ำนมจากสัตว์ที่เรานิยมกินกันเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำนมวัว เนื่องจากมีส่วนประกอบที่ใกล้เคียงกับน้ำนมของคน มากที่สุด รองลงมาก็คือ นมแพะ นมแกะ นมกระบือ ซึ่งนิยมบริโภค เฉพาะในท้องถิ่น แต่ไม่เป็นที่นิยมเลี้ยงทารกเพราะจะมีไขมันและ โปรตีนสูงกว่าน้ำนมคนและน้ำนมวัวมาก

น้ำนมสด
เป็นน้ำนมที่ผลิตจากน้ำนมดิบล้วน ๆ ไม่มีการเติมสารปรุงแต่งรส เพียงแต่นำน้ำนมมาผ่านความร้อนเพื่อทำลายจุลินทรีย์โดยใช้กระบวนการต่างๆ 

นมผง
เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำนมสดมาระเหยน้ำออกจนหมด โดยผ่านกรรมวิธี คือ นำน้ำนมสดมากรองความสกปรกออก แล้วทำให้น้ำนมร้อน แล้วนำไประเหยน้ำภายใต้สูญญากาศ ทำให้แห้ง จะได้นมมีลักษณะเป็นเกล็ดหรือผงได้นมที่มีน้ำหนักเบา ง่าต่อการเก็บรักษาและการขนส่ง สามารถนำไปใช้ในการผลิตนมพร้อมดื่ม จะใช้ในการเลี้ยงทารกแทนนมแม่ เนื่องจากมีคุณภาพดีใกล้เคียงกับน้ำนมสดมากที่สุด โดยจะสูญเสียวิตามินเอและดี วิตามินบี 1 และซี ไปบ้าง ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเลือกใช้นมผงในกรณีที่น้ำนมสดขาดตลาด หรือไม่สามารถจัดหาน้ำนมสดให้เด็กได้ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมาก คือ ความสะอาดของอุปกรณ์ เช่น หม้อต้มน้ำ อุปกรณ์ในการชง อุณหภูมิของน้ำเดือดที่ต้องปล่อยให้มีความอุ่นพอควรแก่การชง และสัดส่วนปริมาณของนมผงกับน้ำที่มาตรฐาน ทำให้เด็กได้รับคุณค่าตามกำหนด 


ภูมิต้านทานโรค 
ในน้ำนมแม่จะมีระบบภูมิต้านทานโรคให้แก่ทารกอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่อยู่ในครรภ์โดยผ่านจากรกเมื่อคลอดออกมาแล้วจะผ่านทางน้ำนมแม่ จนร่างกายของเด็กสามารถสร้างขึ้นเองได้ในภายหลัง จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่าน้ำนมแม่มีคุณประโยชน์มาก สามารถสรุปได้ดังนี้ 
1) ในน้ำนมแม่จะมีสารอาหารครบถ้วนที่จะไปเสริมสร้างพัฒนาการทางสมองและร่างกาย 
2) น้ำนมแม่ทีความสะอาดและปลอดภัยจากเชื้อโรค 
3) ป้องกันโคต่าง ๆ ที่จะเกิดในเด็กทารกได้ 
4) มีความสะดวก แม่สามารถให้นมแก่ลูกได้ทุกเวลาไม่ต้องมีการเตรียมการ มีอุณหภูมิพอดี ไม่ต้องอุ่นให้ร้อน หรือทำให้เย็น 
5) น้ำนมแม่สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันให้แก่ลูกจนลูกสามารถสร้างภูมิคุ้มกันเองได้ 
6) ประหยัด เพราะร่างกายของแม่สามารถสร้างน้ำนมเองได้ตลอดเวลา 
7) ให้ทารกกินได้นานเท่าที่ทารกต้องการ 
8) น้ำนมแม่มีปริมาณที่เหมาะสม ไม่ทำให้ทารกเกิดโรคอ้วน 
9) น้ำนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน เหมาะสมทำให้ทารกถ่ายสะดวกท้องไม่ผูก 
10) เมื่อให้นมแก่ลูก แม่และลูกจะผูกพันอย่างใกล้ชิด เกิดความสุขและอบอุ่นทางจิตใจ

หลักการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัยกำลังอยู่ในวัยที่ต้องการอาหารที่เหมาะสมกับพัฒนาการ ของร่างกายที่กำลังเจริญเติบโตเต็มที่ หมายความว่าการที่เด็กจะมี น้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้น อย่างได้สัดส่วนกับอายุจะสามารถพัฒนา ร่างกายและเซลล์ในสมองของเด็กได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้มีสมรรถ- ภาพ ในการรับรู้และการเรียนรู้ได้อย่างดี ต่างจากเด็กที่ขาดอาหาร ได้อาหารไม่เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ผู้เลี้ยงดูเด็กจึง ควรเน้นในเรื่องของการจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสม สำหรับเด็ก ปฐมวัยอย่างแท้จริง และจัดให้บริการอาหารแก่เด็กปฐมวัยได้ถูก ต้องตามหลักโภชนาการและมีอนามัย เพื่อให้เด็กได้เติบโตอย่างมี คุณภาพในลำดับต่อไป หลักในการจัดเตรียมอาหาร ผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรคำนึง หลักการจัดเตรียมอาหารที่จะสามารถให้ประโยชน์แก่ เด็กได้อย่างเต็มที่ โดยใช้งบประมาณที่เหมาะสมการจัดการที่สอด คล้องกับสภาพพื้นที่โดยยึดหลักดังนี้ 
การจัดรายการอาหารและการจัดอาหารสำหรับเด็ก

1. อาหารหลัก เป็นอาหารที่คุณค่าทางโภชนาการในการเสริมสร้างความเจริญเติบโต มีคุณค่าทางอาหารมาก เพื่อความสะดวก ของผู้เลี้ยงดูเด็ก ควรจัดเป็นรูปแบบอาหารจานเดียวที่มีความสมบูรณ์แบบทั้งคุณค่าทางโภชนาการและเด็กสะดวกในการกินอาหารจานเดียว หมายถึง อาหารที่ปรุงสำเร็จใส่มาในจานเดียวกินได้โดยไม่ต้องมีอาหารอื่น เป็นการประหยัดเวลาและแรงงาน กำหนดคุณค่าทางอาหารได้ชัดเจน เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวทั้งน้ำและแห้ง ผัดมักกะโรนี ผัดไทย ซึ่งต้องมีอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เนื้อสัตว์ ผัก เด็กจะกินได้สะดวก ข้อดีของอาหารหลักประเภทอาหารจานเดียว คือ ไม่ต้องเสียเวลาประกอบอาหารมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วใช้เครื่องมือเครื่องใช้ร้อย สามารถเพิ่มเติมส่วนประกอบได้ง่าย แต่ผู้ปรุงต้องมีความรู้ทางโภชนาการที่จะปรับปรุงอาหารให้ดูน่ากินโดยยังคงคุณค่า 

2. อาหารว่าง เป็นอาหารที่มิใช่อาหารคาวหรืออาหารหวาน แต่เมื่อเด็กกินแล้วจะอิ่ม ใช้สำหรับเสริมให้แก่เด็กก่อนกินอาหารกลางวันเวลา 10.00 น. เพราะเด็กบางคนอาจกินอาหารเข้ามาน้อยหรือไม่ได้กินเลย และก่อนกลับบ้านเวลา 14.00 น. เพื่อเสริมหากเด็กกินข้าวเที่ยงน้อยหรือมิให้ท้องว่างเกินไปก่อนกินอาหารเย็น ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่าย หาได้ในท้องถิ่น เช่นชาละเปา ข้าวต้มมัด ฟักทอง นึ่ง ข้าวเกรียบปากหม้อ สาคูไส้หมู แซนวิชง่าย ๆ หลักการจัดอาหารว่างเสริมให้แก่เด็ก จะต้องจัดอาหารที่ให้แคลอรีและโปรตีน นอกจากนี้แล้วยังต้องให้วิตามินหรือสารอาหารที่เพิ่มเติมที่ยังขาดอยู่ให้แก่เด็กในตะวัน ทำได้ง่าย หาได้ในท้องถิ่น เด็กสามารถกินได้สะดวก ต้องไม่จัดอาหารด้อยคุณค่าให้แก่เด็ก เช่น ขนมกรุบกรอบเป็นซองที่ใส่สารชูรสมาก หรือขนมสำเร็จรูปใส่สี เช่น เยลลี่ ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหารเพราะเด็กจะได้รับพิษจาอาหารเหล่านี้กินสะสมเป็นเวลานาน ๆ
3. อาหารหวาน เป็นอาหารที่สามารถเสริมคุณค่าของอาหารหลักได้ จะมีรสชาติหวานน้อยไปจนหวานมาก ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ควรเลือกอาหารที่ให้ความหวานแต่เพียงอย่างเดียว ควรเลือกขนมหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้วย เช่น ของหวานระหว่างขนมวุ้นใส่น้ำเชื่อมกับขนมถั่วแดงน้ำเชื่อม ควรเลือกถั่วแดงที่จะให้คุณค่ามากกว่า โดยอาจใส่สีแดงหรือนมสดในถั่วแดงเป็นถั่วแดงเย็น เพื่อเปลี่ยนรสชาติของเด็ก 
ตัวอย่างรายการอาหารหลักที่เป็นอาหารหวาน 

• ฟักทองเชื่อม                                   
• ลอดช่องน้ำกะทิ 
• เผือกน้ำกะทิ 
• แตงไทยน้ำกะทิ 
• วุ้นน้ำเชื่อม 
• เฉาก๊วย 
• ข้าวต้มน้ำวุ้น 
• กล้วยบวชชี 
• กล้วยเชื่อม 
• ถั่วแดงเย็น 
• ขนมปังเย็นใส่น้ำแดง 
• มันเชื่อม 
• มันสำปะหลังเชื่อม 
• ขนมมันสำปะหลัง 
• ขนมปลากริมไข่เต่า 
อาหารจานเดียว
• ขนมผักกาดผัด
• ข้าวผัดเนื้อ / หมู / ไก่
• ข้าวผัดกุนเชียง หมูกรอบ
• ข้าวผัดหมู / ไก่ / เนื้อ
• ข้าวผัดกุ้ง
• ข้าวผัดอนามัย
• ข้าวคลุกกะปิ
• ข้าวราดหน้าไก่
• ข้าวราดแกงเนื้อ
• ข้าวราดแกงลูกชิ้นปลา
• ข้าวราดหน้าไก่ หน่อไม้
• ขนมจีนน้ำยา
• ขนมจีนแกงไก่ 

การจัดสถานที่และวัสดุอุปกรณ์เพื่อจัดอาหารและการให้บริการ
สถานที่ประกอบอาหาร  
¢ควรอยู่ไกลจากกองปฏิกูล น้ำครำ ควรเป็นที่ที่อากาศถ่ายเท เป็นโรงเรือนหรือห้องขนาดพอเหมาะกับปริมาณงาน ที่จะดำเนินการ ไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป แบ่งสัดส่วนของห้องให้ชัดเจน เป็นครัวยืน คือ ส่วนจัดเตรียมและประกอบอาหาร ส่วนหน้าเตา ส่วนล้างเก็บ อยู่ในลักษณะให้ผู้ประกอบอาหารเคลื่อนไหวได้โดยรอบต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของแต่ละส่วน เช่น
¢ส่วนหน้าเตา ต้องเก็บเชื้อเพลิง เช่น ถ่าน แก๊ส ควร อยู่ในที่ปลอดภัย ไม่อัด แต่ต้องไม่มีลมโกรกมาก บริเวณส่วนของเปลวไฟจะทำให้เปลืองเชื้อเพลิง และ ควรมีที่พักเตาเมื่อประกอบ อาหารเสร็จใหม่ๆ ส่วนประกอบอาหาร ควรมีที่เก็บของแห้ง เครื่องปรุง อุปกรณ์ในการหั่น ภาชนะที่ต้องใช้ใส่เตรียมอาหาร หลายขนาด ส่วนล้างเก็บ ควรเป็นอ่างล้างชามแบบยืน ที่คว่ำชาม ก๊อกน้ำหรือตุ้มน้ำ เครื่องล้างจาน และที่ เก็บอุปกรณ์ที่ล้างเรียบร้อยแล้ว ควรโปร่งแต่มิดชิด เพื่อกันแมลงสาบและหนูเข้าไป ส่วนของพื้นครัว ควรเรียบไม่ลื่น ผนังครัวทำความสะอาดง่าย ไม่เก็บกักความสกปรก
¢โต๊ะที่จะทำครัวประกอบอาหาร ควรมีความสูงพอดีกับผู้ประกอบอาหาร คือ โต๊ะสูงประมาณ 40-45 นิ้ว ให้พอดีกับความสูงของคนทำครัว ใช้วัสดุที่ทำความสะอาดง่าย หุ้มโต๊ะประกอบอาหาร เพื่อความสะอาดและง่ายต่อการล้างทำความสะอาด 
เครื่องใช้สำหรับประกอบอาหาร
¢เครื่องใช้สำหรับประกอบอาหาร ได้แก่ โต๊ะ เตา ตู้ เก็บถ้วยชาม ภาชนะ เครื่องมือเครื่องใช้ ตู้ เก็บอาหาร ควรเลือกใช้ของที่มีความทนทาน ไม่ควรเลือกของถูก คุณภาพไม่ดี เพราะจะต้อง เสียค่าใช้จ่ายหลายครั้ง ควรเลือกของดีมีคุณภาพราคาปานกลาง เช่น
¢เตา ควรใช้เตาที่มีขนาดพอดีกับปริมาณอาหารที่จะ ประกอบในแต่ละครั้ง ไม่เล็กเกินไป ไม่ใหญ่เกินไป หากเป็นเตาถ่าน ควรใช้เตาประหยัดพลังงาน หากเป็น เตาแก๊ส ควรเลือกหัวเตาที่ให้ไปได้หลายระดับ ตาม ความเหมาะสม ตู้เก็บเครื่องมือเครื่องใช้ภาชนะ ควรปิดมิดชิดสามารถ กัน แมลงสาบและหนุได้ มีความกว้างลดหลั่นกันเพื่อ วางภาชนะได้หลายระดับ ไม่กินเนื้อที่ไม่กว่างหรือลึก เกินไป หรือสูงเกินไปหรืออยู่สูงเกินไปจนหยิบของยาก ตู้เก็บอาหารควรกรุด้วยมุ้งลวด และมีความมั่นคงของ รอยต่อของตู้ เพื่อกันมด แมลงสอบเข้าไปได้ ไม่อับชื้น ควรมีชั้นแยกของแห้งของสด ภาชนะใส่อาหาร ควรใช้อะลูมิเนียมหรือหม้อเคลือบ ชนิดดีที่ไม่กระเทาะ หากใช้หม้อเคลือบ ควรเตรียม ทัพพีหรือไม่พายที่ด้วยไม่เพื่อมิให้กันหม้อขูดขีดเป็น รอย ทำให้แตกกระเทาะได้ ควรมีความหนาคงทนพอ ที่จะใส่อาหารแล้วต้องยกขึ้น-ลงได้โดยไม่บิดเปี้ยว ฝา ปิดสนิท มีที่จับมั่นคง 
  

ข้าวต้มพระจันทร์ - เมนูอาหารสำหรับเด็ก
ข้าวต้มเป็นอาหารแสนอร่อยที่ทำง่าย ยิ่งวันนี้เมนูลูกรักนำเสนอเมนูข้าวต้มที่หน้าตาน่าทานมาก เด็ก ๆ ชอบแน่ ๆ เมนูอาหารสำหรับเด็กวันนี้เสนอ ข้าวต้มพระจันทร์ เป็นยังไงมาดูกัน
เครื่องปรุง : ข้าวต้มพระจันทร์ - เมนูอาหารสำหรับเด็ก
1) ข้าวสวย
2) ฟักทองนึ่งบดละเอียด
3) เนื้อไก่สับ
4) ใบผักโขม หรือป๋วยเล้งสับหยาบ
5) น้ำซุปโครงไก่
วิธีทำอาหาร : ข้าวต้มพระจันทร์ - เมนูอาหารสำหรับเด็ก
1) นำฟักทอง ข้าวสวยและเนื้อไก่สับ ต้มรวมกันในน้ำซุปจนสุกนิ่ม
2) ก่อนจะหรี่ไฟ ให้ใส่ผักป๋วยเล้งลงไปด้วย เพียงเท่านี้ก็จะได้ข้าวต้มสีเหลือง เสริฟอุ่นๆ ให้เจ้าตัวเล็ก



                                                   บรรยากาศในการเรียน
          เสนอแต่ละกลุ่มการคิดกิจกรรมอะไรก็ได้ที่ตรงกับหัวข้อการสอนเรื่องคุณธรรม 8ข้อ
ส่วนใหญ่เสนอนิทานคุณธรรม ยกตัวอย่างเรื่องการประหยัดเป็นกิจกรรมการเก็บออมของเด็กๆ
                                                 สิ่งที่ได้รับในการเรียน
1 วิธีการจัดอาหารที่มีประโยชน์ 2.อาหารที่มีคุณค่า  3. การจัดอาหารที่ประหยัดสำหรับเด็กทารกและเด็กปฐมวัยข้อควรปฎิบัติต่างๆ แต่ละกลุ่มแสดงความคิดเห็นทำเมนูอาหารจานเดียว อาหารหวาน 
ประเมินตนเอง คาบเรียนนี้ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากติดการเดินทางวันสงกรานต์
ประเมินเพื่อน มีเพื่อนส่วนน้อยที่ติดการเดินทางไม่ได้มาเรียน แต่ส่วนใหญ่เข้าเรียนและตั้งใจ
ประเมินอาจารย์ ตรงต่อเวลา เนื้อหาอธิบายตรงตามการเรียนการสอน ให้นักศึกษาเข้าใจเนื้อหา พร้อมกับความรู้เพิ่มเติมหลากหลายด้าน
ข้อคิดเห็น
บรรยากาศในห้องเรียนเหมาะสมเอื้อต่อการเรียนการสอน การถาม-ตอบอาจารย์ต่อนักศึกษา
และทำความเข้าใจไปพร้อมกันสิ่งหนึ่งที่เป็นจุดเด่นของวิชาคือการที่อาจาร์ฝึกให้แสดงจุดยืนเราว่าเรามีความคิดเห็นกับเพื่อนหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน ความคิดเห็นระหว่างกันภายในห้องที่มีส่วนร่วมและร่วมมือต่อกันเพียงใด



อนุทินครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 เมนูอาหารโดยประกอบไปด้วยอาหารจานหลักและขนมหวาน ข้าวผัดปลาทูน่าหลายสี ส่วนผสม ข้าวสวย ปลาทูน่...